วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

history_menu.gif (2366 bytes)

        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้น
เมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทย ที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง

       ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา

        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว  ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"
       
   ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระ ราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477
  พระพุทธสิหิงค์
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 สำริดกะไหล่ทอง สูง 166 เซนติเมตร
ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
          พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยและลังกา เป็นพุทธรูปสำคัญซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่ราชธานีเดิม ทั้งกรุงศรีอยุธยาและเมืองเชียงใหม่ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญจากเชียงใหม่มาประดิษฐานยังพระราชวังบวรสถานมงคล ในราว พ.ศ. 2330 พระพุทธสิหิงห์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อำนวยสวัสดิ์แก่บ้านเมือง จึงอัญเชิญออกสรงน้ำพิธีสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกปี

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 สำริด สูง 102 เซนติเมตร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
จัดแสดงที่ห้องศิลปะสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
           พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระรัศมีรูปเปลว ขมวดเกศาเป็นรูปก้นหอยสมส่วน พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์บาง อมยิ้ม พระอังสาใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาย ประทับขัดสมาธิราบบนฐานเขียง มีรูปนอกอ่อนหวาน ตามลักษณะศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่ฐานมีจารึกว่า ทิดไสหงและนางแก้วเป็นผู้สร้าง


ขอช้าง ขวานจีน และง้าวไทย
ขอช้าง ขวานจีน และง้าวไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เหล็ก
        1. ขอช้าง เลขทะเบียน 6422 (136) ยาว 186.5 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้ฟันเพื่อบังคับช้าง และใช้แทงได้เนื่องจากส่วนปลายมีลักษณะเป็นหอกปลายแหลม ส่วนด้ามทำด้วยไม้ ส่วนต่อกับใบหอกมีลายตกแต่งเป็นรูปครุฑ อาวุธชนิดนี้สันนิษฐานว่าคงดัดแปลงรูปทรงให้สอดคล้องกับการใช้สอยเกี่ยวกับการรบบนช้าง รับมาจากหมวดภูษามาลา แผนกพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อ 12 มีนาคม 2482
        2. ขวานจีน เลขทะเบียน 6421 (135) ยาว 193 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้ฟัน ด้ามทำด้วยไม้ ส่วนคอขวานหุ้มทองเหลือง เหนือใบขวานมีหอก ซึ่งสามารถใช้แทงได้ ใบหอกมีฝักสวมอยู่ ฝักตกแต่งด้วยลายทองบนชาด ปลายฝักเรียวแหลม รับมาจากหมวดภูษามาลา แผนกพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อ 12 มีนาคม 2482
        3. ง้าวไทย เลขทะเบียน ถ. 8/9 ยาว 21 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้ฟัน ด้ามทำด้วยไม้ คอง้าวหุ้มโลหะตกแต่งเป็นลายวงแหวนซ้อนหลายชั้น ใบง้าวมีปลอกไม้สวมอยู่ ทาสีชาด โคนปลอกหุ้มทองแดง ตกแต่งลาย
        พระโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวม 5 พระองค์ ซึ่งเป็นทายาทในกองมรดก ประทานยืม หอกซัด หอกไทย และทวน 


ปืนคาบศิลา ปืนชนวน

สมัยรัตนโกสินทร์
พุทธศตวรรษที่ 24-25
เหล็ก
เป็นเครื่องราชศาสตราวุธ รับมาจากหมวดภูษามาลา แผนกพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อ 12 มีนาคม 2472
         1. ปืนคาบศิลา เลขทะเบียน ถ. 2/19 ยาว 145.5 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้ยิงในระยะไกลและใกล้ โคนลำกล้องลงคร่ำทองเป็นลายกนกก้านขด และสลักเป็นรูปลิง 1 ตัว ตัวกระบอกปืนห้อยเขนงดินปืนทำด้วยไม้ไผ่ ทาสีดำ
         2. ปืนชนวน เลขทะเบียน 6,330 ยาว 122.5 เซนติเมตร เป็นอาวุธปืนใช้ยิงในระยะไกลและใกล้ ลำกล้องเป็นเหล็กทรงแปดเหลี่ยม พานท้ายปืนทำด้วยไม้ ตกแต่งโลหะคงคร่ำทอง บรรจุกระสุนทางปากกระบอก
         3. ปืนชนวน เลขทะเบียน 6,323 ยาว 104.5 เซนติเมตร เป็นอาวุธปืนใช้ยิงในระยะไกลและใกล้ ตัวกระบอกตกแต่งด้วยโลหะ ลงคร่ำทอง พานท้ายปืนทำด้วยไม้ ตกแต่งด้วยโลหะคร่ำทอง ไกปืนไม่มีโกร่ง การบรรจุกระสุนใช้บรรจุเข้าทางส่วนปากกระบอก กริช


เหรียญกษาปณ์ตราดอกจัน
เหรียญสมัยศรีวิชัย รูปกลมแบน ประทับตรารูปสี่เหลี่ยมมีดอกสี่แฉก เรียกว่า ดอกจัน ด้านหนึ่งจารึกภาษาสันสกฤตอ่านว่า "วร"หมายถึง ประเสริฐ

เหรียญกษาปณ์สมัยรัตนโกสินทร์
ทำจากเงิน ทอง รวมทั้งปี้ที่ใช้แลกเปลี่ยนเงินตราในบ่อนการพนันซึ่งทำด้วยดินเผา

 

บานประตูปราสาทพระเทพบิดร 
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ไม้ เลขทะเบียน 5/น กว้าง 130 เซนติเมตร สูง 269 เซนติเมตร
บานประตูแกะสลักลายพื้นหลังเป็นลายดอกไม้เต็มพื้นที่ภาพประธานของบานประตู ทั้ง 2 ข้างเป็นรูปเซี่ยวกางหรือเทวดาแต่งกายแบบไทยแต่มีหนวดเคราและเค้าหน้าอย่าง ศิลปะจีน ยืนอยู่บนหลังสิงห์ ภาพส่วนล่างสุดเป็นภาพเหตุการณ์การล่าสัตว์ของนายพรานในป่า น่าสังเกตว่าภาพเซี่ยวกางนี้ช่างแกะสลักนูนสูงจนเกือบจะเป็นประติมากรรมลอย ตัว แล้วนำมาติดบนบานประตูอีกชั้นหนึ่ง แสดงว่าต้องการที่จะเน้นให้เห็นว่ามีเทพผู้พิทักษ์บานประตูซึ่งกั้นระหว่าง โลกภายนอกกับภายในอาคารที่เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ปราสาทพระเทพบิดรนี้แต่เดิมประสงค์จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว มรกต แต่มีขนาดเล็กเกินไป ภายหลังจึงประดิษฐานพระบรมรูปบูรพมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี บานประตูนี้ คงจะได้รับการถอดเปลี่ยนมาเก็บรักษาไว้ในขณะที่มีการซ่อมบูรณะในเวลาต่อมา




ธรรมาสน์สวด 
ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ไม้ เลขทะเบียน 37/น กว้าง 112 เซนติเมตร สูง 340 เซนติเมตร เดิมอยู่ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
ธรรมาสน์สวดหรือเตียงสวด เป็นธรรมาสน์ยอดแบบหนึ่ง คือมียอดเป็นบุษบกหรือยอดปราสาท พระสงฆ์สามารถขึ้นไปนั่งสวดพร้อมกันได้ 3-5 องค์ บางกรณีก็มีผู้เรียกว่า "สังเค็ต" คำว่าสังเค็ตใช้เรียกสิ่งของต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาถวายเป็นทานวัตถุอุทิศให้กับผู้ตายหรือถวายเป็นการทำบุญ ธรรมาสน์หลังนี้แกะสลักลวดลายและประดับกระจกอย่างวิจิตรพิศดาร ลวดลายด้านข้างแบ่งเป็นช่องๆ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมและกระจังด้านข้างโดยรอบทำให้คนดูว่ามีฐานแอ่นโค้ง อย่างท้องเรือสำเภานี้เองที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นศิลปะอยุธยาได้อย่างเด่น ชัด
 

   

หีบบุหรี่ 
ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 25 ไม้ลงรักประดับมุก กว้าง 12.6 เซนติเมตร ยาว 20.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฝา 11.6 เซนติเมตร กล่องรูปสี่เหลี่ยมประดับมุกเป็นภาพทิวทัศน์ และชีวิตความเป็นอยู่แบบจีน

                                         ที่มา http://www.thailandmuseum.com

WM9 512 Download PAL พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตอน 1